วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557

Day 6 Simple vs Complicate Things and optimal mindset by Topbeatbox

เมื่อวานได้ประเด็นๆนึงมา มีคนในทีมที่ผมทำงานด้วยถามว่า คิดว่าตัวเลขที่มีอยู่บนโลกนี้มีอยู่จริงหรือไม่ แล้วเขาก็ส่งวิดีโอให้ผมดู ซึ่งในวิดีโอพูดว่า มีมุมมองประมาณสองแบบหลักๆ มุมมองแรกคือ พวกที่คิดว่ามีอยู่จริง กับอีกพวกคือ ตัวเลขไม่มีอยู่จริง ซึ่งในวิดีโอก็จะมี conflict กันระหว่างสองพวก ต่อไปนี้คือความคิดผม ตัวเลขถูกสร้างมาเพื่อแทนค่าของจำนวนของที่เรามี เช่นเรามีส้มอยู่สองลูก เรารู้ได้ยังไงว่ามันต้องเขียน "2" ทำไมไม่เป็น "3" ซึ่งความหมายจริงของตัวเลขไม่ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะการเขียนแต่เป็นคุณค่าที่เราให้กับเลขตัวนั้นเป็นเหมือน Bandwagon (คือการคิดตามเหมือนคนส่วนใหญ่คิดกัน) หรือเรียกว่าสัญญาลักษณ์แทนค่าก็ว่าได้ แต่นี้ไม่ใช่ประเด็นครับ ประเด็นอยู่ที่ว่า สิ่งที่เข้าใจง่ายๆและสามารถเข้าใจได้เลยทันทีถึงถูกนำมาให้เกิดความซับซ้อนและหาทฤษฎีมาหนุนหลัง เพื่อให้สิ่งที่ตัวเองพูดนั้นถูกต้อง ในความคิดของผมคิดว่าตัวเลขมันก็คือเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้หาคุณค่าหรือจำนวนของสิ่งของ เพื่อทำให้ Logic ของมนุษย์ ถูกสามารถเห็นได้ด้วยตัวเลข ในรูปแบบที่สามารถมองเห็นได้
ตัวเลขนั้นเราสามารถเข้าใจได้ง่ายๆ แต่วิธีการคิดอีกต่อนึงก็คือสมการถือว่าเป็นอีกเรื่องละกันครับ เหมือนที่ผมเคยโพสเกี่ยวกับ Mathematics
วิธีคิดแบบง่ายๆคือ เรารู้จักว่าตัวเลขคืออะไร ถูกไหมครับ เราไม่ต้องรู้ว่า มัน Exist หรือไม่ Exist เพราะเรากำลังมองผิดประเด็น ประเด็นที่ต้องการรู้คือเราเอาตัวเลขพวกนี้ไปทำอะไรได้บ้าง สามารถเอาไปทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ หรือ วิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ ซึ่งมันก็แล้วแต่ผู้ใช้ว่าจะเอาตัวเลขนั้นไปใช้ได้มากน้อยแค่ไหน มันจึงเป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่งของเรา
นอกจากนั้นมีอีกหลายๆประเด็นที่ถูกตั้งมาเพื่อทำให้เกิดความซับซ้อน จนเปลี่ยนประเด็นไปเลย ที่น่าสนใจกว่าการตั้งคำถามคือ เราตั้งคำถามถูกจุดหรือไม่ เราต้องการรู้สิ่งนี้เพื่อไป ตอบสิ่งนี้จริงๆหรือไม่



การตั้งคำถามเป็นเรื่องที่ดี คนเราควรจะหัดสงสัยอะไรเสมอๆ เพื่อเป็นการฝึกสมอง แต่การตั้งคำถามควรจะตั้งให้ถูกหลักด้วยครับ ^^ สมมุติว่ามีบริษัทนึง มีปัญหาเรื่องยอดขายตกอย่างรุนแรง คำถามที่ควรตั้งคือทำไมยอดขายจึงตกและมีปัจจัยอะไรที่กระทบต่อยอดขาย ณ ตอนนี้ เราคงจะไม่ตั้งคำถามที่ว่าตัวเลขมีจริงหรือไม่ -*- ถ้าเราตั้งคำถามมาผิดจุดแล้ว เราอาจจะเสียเวลาฟรีๆเพื่อหาคำตอบที่ไม่ได้ต้องการ แต่ไม่ใช้ว่าเราจะตั้งคำถามที่ดูไร้สาระไม่ได้นะครับ เพราะทุกอย่างมีความรู้ในตัวมันและมันอาจจะเอามาเชื่องโยงกันได้ในมิติใดมิตินึง แต่การตั้งคำถามแบบ Random มันไม่ตอบโจทย์ ที่ว่าการทำงานแบบมีประสิทธิภาพและมีแบบแผน ถ้าเราต้องการจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดและคุ้มกะเวลาที่เสียไปมากที่สุด สังเกตุไหมครับคนที่ทำงานแบบมีประสิทธิภาพมักจะไปเร็วกว่าคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นด้านความรู้ การประหยัดเวลา และอื่นๆ


ถ้ามองในมุมมองนักเศรษฐศาสตร์ เราจะมองว่าชีวิตของคนเรามีจำกัด ถ้าเปรียบเวลาที่เหลืออยู่คือเงิน เราจะใช้เงินยังไงให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดในเวลาที่จำกัด Economics opportunities คือเราจะเลือกทำอะไร ถ้ามี Choice เป็นสิบอย่างแต่เราเลือกแค่อันเดียวในหนึ่งช่วงเวลา แน่นอนว่าเราจะต้องเลือก choice ที่คุ้มค่าที่สุด




Topbeatbox # ชิวดิว่าาา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น