วันนี้เริ่มอ่านหนังสือเล่มเก่าที่อ่านมาตั้งนานยังไม่จบซักที
อ่านๆไปก็มันส์ ก็เลยอยากจะเอามาเล่าให้ฟังเล่นๆ ขำๆ แขนๆ
สไตล์ภาษาชาวบ้านอ่านง่ายสบายบรึ๋ย
หนังสือเรื่อง Money shift เนี่ย คนเขียนต้องการที่จะสื่อถึงเทรนด์ของตลาดว่ามันไหลไปทางไหน
แล้วเราควรจะทำตัวยังไงต่อไปเมื่อไม่มีเธอ .. หลักๆเลยเค้ามองดูเกี่ยวกับ
Macro Factors อย่าง Demographic, politics และ finance อะไรประมาณนี้นะคะ ซึ่งเค้าเน้นย้ำว่ามันค่อนข้างสำคัญเลยนะที่เราจะเทรดเนี่ย ไอวิธีการเก่าๆอย่าง
Passive investing ที่เคยใช้ในช่วง The great moderation เนี้ยมันใช้ไม่ได้แล้ว
เพราะตลาดมันผันผวนและซับซ้อนกว่าแต่ก่อนมากนัก เค้าจึงอยากจะเน้นว่าถ้าอยากลงทุน คุณควรจะเช็คข้อมูล เช็คปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อสินทรัพย์ตัวนั้นๆให้ดีซะก่อน เพราะบางคนเคยชินกับช่วงgreat moderation แล้วเอากลยุทธ์เดิมๆมาใช้ในช่วงนี้ เนื่องจากเคยชินกับตลาดที่ง่ายๆไม่ผันผวนมากนักของช่วงนั้น
แต่วิธีบางอย่าง อย่าง Diversification ก็ยังคงใช้ได้นะ
เพียงแต่ต้องประยุกต์บ้าง การ Diversify พอร์ต
แต่ก่อนเนี่ยอาจจะทำได้ง่ายนะ เพราะโลกมันไม่กลมบ๊อก คือมันไม่globalized เท่าตอนนี้ แต่ละประเทศก็มี business cycle ที่แตกต่างกัน
เช่น เราซื้อหุ้นของประเทศเราและของประเทศอื่นที่correlation มันวิ่งคนละทาง สมมติเราซื้อหุ้นอเมริกากับญี่ปุ่น อเมริกาเจอหายนะไคจูบุก
แต่หุ้นญี่ปุ่นวิ่งสวนทางกับหุ้นเมกาไรงี้(แค่สมมติว่ามันวิ่งคนละทางกัน) แต่ในสมัยนี้โลกมันกลมยิ่งกว่าเก่า ถ้าพื้นติดกันได้มันคงติดกันไปแล้ว business cycle ของแต่ละประเทศมันเชื่อมกันมากกว่าเก่า
บางประเทศอาจวิ่งไปด้วยกันเลยด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นจะdiversify ให้ดีก็ต้องกลับมาดูรายละเอียดและ economic reality ที่มันอยู่ข้างใต้ ของแต่ละประเทศหรือธุรกิจหรือตลาดให้ดีซะก่อน นอีกมุมมองหนึ่ง เราควรจะต้องมองลึกถึงมุมมองด้านอื่นๆของธุรกิจนั้นๆซึ่งมีหลายปัจจัยมากมายยยยยยยย
เช่น เทคโนโลยี การเข้าถึงตลาด ระดับของproductivity ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้กับทุกๆกลยุทธ์ในการลงทุนเพราะข้อมูลคือพลัง
มีก็ยังดีกว่าไม่มีใช่มั้ยล่ะ.. (เพียงแต่ว่ามีบางทฤษฎีที่เขามองว่าตลาดคือการสมคบคิดกันระหว่างผู้เล่นรายใหญ่ ซึ่งอันนั้นก็คืออีกเรื่องหนึ่งในอีกมุมมองหนึ่ง)
นอกเหนือจากนั้นแล้วผู้เขียนยังได้พูดถึงว่าความรุ่งเรืองจากประเทศพัฒนาแล้วเริ่มที่จะย้ายไปสู่ตลาดเกิดหม่กันแล้ว มีประโยคหนึ่งที่โดนNapoleon ได้กล่าวไว้ว่า “China
is a sleeping giant. Let her sleep, for when she wakes,
she will shake the world” นั่นถือว่าเป็นคำกล่าวที่ไม่เกินจริงเลยกับสถานะของจีน
ณ ตอนนี้เมื่อเทียบกับสมัยก่อน พวกฝั่งตะวันตกเคยคิดว่าเศรษฐกิจของตนเองนั้นใหญ่จนไม่มีครเทียบได้
จนกระทั่งยักษ์และผองเพื่อนตลาดเกิดใหม่ตื่น ถึงกับผงะไปตามๆกัน
เมื่อโลกเราเริ่มหมุนเร็วขึ้น
เริ่มรวมกันเป็นหนึ่งมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีและเครื่องมือต่างๆ ความศิวิไลซ์ต่างนำพาให้พวกเหล่าตลาดเกิดใหม่ที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะมาถึงจุดๆนี้ได้
ต่างก็พากันเติบโต พากันร่ำรวยด้วยระยะเวลาที่เร็วขึ้นมากเมื่อเทียบกับสมัยก่อน ในช่วงยุค renaissance นั้น Italy ใช้เวลาถึง
455 ปีกว่าจะเพิ่มGDP
ของประเทศให้อยู่นจุดที่เรียกว่าชนชั้นกลางได้ US ใช้เวลาน้อยกว่าItaly
เหลือเพียงแค่110ปีเท่านั้นที่นำพาประชาชีออกจากความยากจนได้
แต่ที่น่าประหลาดใจไปกว่านั้นคือ เหล่าประเทศเกิดใหม่อย่าง จีน เวียดนาม
อินโดนีเซียและ อินเดีย (เสียใจไม่มีสยามเมืองยิ้ม) ใช้เวลาเฉลี่ยเพียงแค่ 18ปีครึ่งเท่านั้น เท่านั้นจริงๆก๊ะ!! แชมป์มาแรงแซงทางโค้งของฝั่งตลาดอุแว้ๆ
คือ พี่จีน อาตี๋อาหมวยอาต๋วยอาหมี ด้วยเวลาเพียงแค่12ปี และที่น่าstun ไปกว่านั้น คือ.. คือ... คือ.... ช่วง1990-2010 นั้น ดินแดนของชาวมังกรนั้นมีGDPเพิ่มขึ้นถึง 505.5% คำถามคือ? ทำได้ไงวะ?
ตอนนี้พึ่งอ่านไปนิดเดียวเอง ถ้ามีอะไรน่าสนใจหรืออยากแชร์ให้ฟังจะมาเขียนต่อนะคะ :D ลองอ่านดูนะ สนุกดี อริส์อริส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น